ลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษา โครงการการพัฒนาหัวพ่นพลาสมาเย็นสำหรับดอกไม้กินได้

ผศ.ดร.นิพัทธ์ จงสวัสดิ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เผยว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี ได้ร่วมกันบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Young start up  “ออมสิน”-นางสาวชนัญธิดา ทะพลี ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ “เบนซ์”-นายธนธร อำไพกูล ศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้จับมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้กินได้จากพลาสม่าเย็น และเป็นหนึ่งในผลงานที่ได้รับคัดเลือกเป็น The Best High Potential Entrepreneur Award RMUTT 2022 จากการประกวดผลงาน RMUTT Startup – Prototype Pitching 2022 โดยมี ผศ.ดร.อารณี โชติโก และผศ.ดร.ปรเมนทร์ พอใจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ

จากนั้นมีคณะกรรมการหลายท่านชื่นชมไอเดีย และศักยภาพ และเห็นโอกาสในการลงทุน จึงได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ ต่อยอดไอเดียให้ก้าวออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยเปิดบริษัท แอท ฟลาวเวอร์ จำกัด เพื่อจำหน่ายดอกไม้กินได้จากพลาสมาเย็น ซึ่งนำเทคโนโลยีพลาสมาเย็น มาใช้เพื่อยืดอายุดอกไม้ ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังได้ลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษากับทางคณะ ผ่านศูนย์ความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพ-นาโนและนวัตกรรมดิจิทัลในโครงการการพัฒนาหัวพ่นพลาสมาเย็นสำหรับดอกไม้กินได้ ผัก และผลไม้ เพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ยกระดับและพัฒนากระบวนการผลิตในเชิงพาณิชย์

ด้าน ผศ.ดร.ปรเมนทร์ พอใจ ในฐานะหัวหน้าโครงการการพัฒนาหัวพ่นพลาสมาเย็นสำหรับดอกไม้กินได้ ผัก และผลไม้ กล่าวว่า ออมสินและเบนซ์ ถือเป็นผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ที่ต่อยอดและสานฝันให้เป็นจริงจากโครงการ RMUTT Young Startup Fund ที่ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ และได้รับความสนใจ จนได้รับการสนับสนุนจาก คุณณิชชา สารพุทธิเดชา เพื่อทำให้ไอเดีย เกิดเป็นรูปธรรม และเชื่อมั่นว่าศักยภาพและความขยันของทั้ง 2 คนนี้ ่อมั่นว่าใองทั้ง 2 คนก่อเกิดเปนจาก คจะประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมถึงสามารถเป็น Role Model ให้กับรุ่นน้องและคนอื่นต่อไปได้กับทุก ๆ คน ขณะเดียวทั้งอาจารย์และทีมนักวิจัย ยินดีที่จะดูแล ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาอยู่เสมอ

 

ขณะเจ้าของไอเดีย ผู้ร่วมตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ “ออมสิน”-นางสาวชนัญธิดา ทะพลี ในฐานะกรรมการ บจก.แอท ฟลาวเวอร์ โดยดูแลด้านการตลาดเป็นหลัก เล่าว่า ตลอดเส้นทางทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาที่ให้ความเชื่อมั่น และอีกหนึ่งสำคัญคือ พี่ณิชชา สารพุทธิเดชา ที่มาเป็นคณะกรรมการในโครงการฯ และทาบทาม มอบทุนสนับสนุน เพื่อจัดตั้งเป็น บจก. อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในหลายส่วน จึงได้เรียนรู้ ซึมวับวิธีคิดและวิธีการทำงานต่าง ๆ และบอกอีกด้วยว่า “ประสบการณ์และโอกาสที่ตัวเองได้รับในครั้งนี้ มันพลิกชีวิต พลิกความฝันสู่ความจริง เพื่อเป็นผู้ประกอบการ”

ส่วนอีกหนึ่งผู้ร่วมตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ “เบนซ์”-นายธนธร อำไพกูล ที่ดูแลด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อปลอดภัย ไร้สารเคมีปนเปื้อน และควบคุมการผลิตภายในโรงเรือน เล่าว่า การที่ บจก.แอท ฟลาวเวอร์ ได้ลงนามสัญญาจ้างกับศูนย์ความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพ-นาโนและนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์ฯ ในโครงการการพัฒนาหัวพ่นพลาสมาเย็นสำหรับดอกไม้กินได้ ผัก และผลไม้ เหมือนได้กลับมาบ้านอีกครั้งหนึ่ง ที่อบอุ่น ให้ความช่วยเหลือและมีการซัพพอร์ตที่ดีมาก “ผมจะตั้งใจสานฝันธุรกิจนี้ แม้จะเหนื่อยและท้าทายมากแค่ไหน ก็จะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป”

อย่างไรก็ตาม บจก.แอท ฟลาวเวอร์ จัดจำหน่ายดอกไม้กินได้ ในตลาดระดับพรีเมียม และวางแผนเข้าสู่ตลาด Modern Trade ในเร็ว ๆ นี้รวมถึงกำลังพัฒนากระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ พัฒนาระบบขนาด Pilot Plan เพื่อขยายกำลังการผลิตสำหรับ รองรับการเติบโตทางธุรกิจต่อไป ผู้สนใจสามารถดูสินค้าและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB. เพจ At Flower-Edible Flower Farm

 

ภาพ ข่าว และเผยแพร่โดย : กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี